วันอาทิตย์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

Onet 53

 1.หน่วยควบคุมของคอมพิวเตอร์ เทียบได้กับส่วนใดของมนุษย์
ตัวเลือกที่ 1 : สมอง
ตัวเลือกที่ 2 : เส้นประสาท
ตัวเลือกที่ 3 : หัวใจ
ตัวเลือกที่ 4 : เส้นเลือด

2.ประเทศไทย ได้นำคอมพิวเตอร์มาติดตั้งเป็นครั้งแรกเมื่อ
ตัวเลือกที่ 1 : พ.ศ. 2504
ตัวเลือกที่ 2 : พ.ศ. 2505
ตัวเลือกที่ 3 : พ.ศ. 2506
ตัวเลือกที่ 4 : พ.ศ. 2507

3.ส่วนประกอบที่สำคัญของระบบคอมพิวเตอร์ คือ
ตัวเลือกที่ 1 : Input, Process, Output
ตัวเลือกที่ 2 : OS, CPM, DOS
ตัวเลือกที่ 3 : Hardware, Software, Peopleware, Data
ตัวเลือกที่ 4 : Transistor, IC, VLSI

4.การส่งผ่านข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ปัจจุบันเป็นแบบใด
ตัวเลือกที่ 1 : Digital
ตัวเลือกที่ 2 : Laser
ตัวเลือกที่ 3 : Analog
ตัวเลือกที่ 4 : Modem

5.RAM มาจากคำว่า
ตัวเลือกที่ 1 : Read Access Memory
ตัวเลือกที่ 2 : Read - Add Memory
ตัวเลือกที่ 3 : Read Application Memory
ตัวเลือกที่ 4 : Random Access Memory

6.ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของหน่วยความจำ
ตัวเลือกที่ 1 : ROM
ตัวเลือกที่ 2 : RAM
ตัวเลือกที่ 3 : PROMPT
ตัวเลือกที่ 4 : EPROM

7.หน่วยความจำที่ผู้ใช้สามารถบันทึกเพิ่มเติมแก้ไขได้ คือ
ตัวเลือกที่ 1 : TERMINAL
ตัวเลือกที่ 2 : BIT
ตัวเลือกที่ 3 : ROM
ตัวเลือกที่ 4 : RAM

8.หน่วยความจำแบบใด เมื่อปิดสวิทซ์แล้วข้อมูลจะหายไปถ้าไม่ทำการ SAVE ข้อมูลไว้
ตัวเลือกที่ 1 : CD-ROM
ตัวเลือกที่ 2 : EPROM
ตัวเลือกที่ 3 : RAM
ตัวเลือกที่ 4 : ROM

9."ROM" มาจาก
ตัวเลือกที่ 1 : Read Only Memory
ตัวเลือกที่ 2 : Random Only Memory
ตัวเลือกที่ 3 : Ram Only Memory
ตัวเลือกที่ 4 : Read Output Memory

10.ข้อใดต่อไปนี้เป็นอุปกรณ์รับข้อมูล
ตัวเลือกที่ 1 : จอภาพ
ตัวเลือกที่ 2 : เครื่องอ่านบัตรเจาะรู
ตัวเลือกที่ 3 : เครื่องพิมพ์
ตัวเลือกที่ 4 : เครื่องเขียนกราฟ

cr.http://www.trueplookpanya.com/examination/doexam/2027

วันจันทร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

php

ฟังก์ชันใน PHP
ฟังก์ชันในโปรแกรมส่วนใหญ่ได้รับการเรียกคำสั่งเพื่อทำงานอย่างเดียว สิ่งนี้ทำให้คำสั่งอ่านได้ง่ายและยอมให้ใช้คำสั่งใหม่แต่ละครั้งเมื่อต้องการทำงานเดียวกัน
ฟังก์ชันเป็นโมดูลเก็บคำสั่งที่กำหนดการเรียกอินเตอร์เฟซ ทำงานเดียวกัน และตัวเลือกส่งออกค่าจากการเรียกฟังก์ชัน คำสั่งต่อไปเป็นการเรียกฟังก์ชันอย่างง่าย
my_function ();
คำสั่งเรียกฟังก์ชันชื่อ my_function ที่ไม่ต้องการพารามิเตอร์ และไม่สนใจค่าที่อาจจะส่งออกโดยฟังก์ชันนี้
ฟังก์ชันจำนวนมากได้รับการเรียกด้วยวิธีนี้ เช่น ฟังก์ชัน phpinfo () สำหรับแสดงเวอร์ชันติดตั้งของ PHP สารสนเทศเกี่ยวกับ PHP การตั้งค่าแม่ข่ายเว็บ ค่าต่างๆ ของ PHP และตัวแปร ฟังก์ชันนี้ไม่ใช้พารามิเตอร์และโดยทั่วไปไม่สนใจค่าส่งออก ดังนั้นการเรียก phpinfo () จะประกอบขึ้นดังนี้
phpinfo ();
การกำหนดฟังก์ชันและการเรียกฟังก์ชัน
การประกาศฟังก์ชันเริ่มต้นด้วยคีย์เวิร์ด function กำหนดชื่อฟังก์ชัน พารามิเตอร์ที่ต้องการ และเก็บคำสั่งที่จะประมวลผลแต่ละครั้งเมื่อเรียกฟังก์ชันนี้
<?php
function function_name(parameter1,…)
{
ชุดคำสั่ง …
}
?>
ชุดคำสั่งต้องเริ่มต้นและสิ้นสุดในวงเล็บปีกกา ({ }) ตัวอย่างฟังก์ชัน my_function
<?php
function my_function()
{
$mystring =<<<BODYSTRING
my function ได้รับการเรียก
BODYSTRING;
echo $mystring;
}
?>
การประกาศฟังก์ชันนี้ เริ่มต้นด้วย function ดังนั้นผู้อ่านและตัวกระจาย PHP ทราบว่าต่อไปเป็นฟังก์ชันกำหนดเอง ชื่อฟังก์ชันคือ my_function การเรียกฟังก์ชันนี้ใช้ประโยคคำสั่งนี้
my_function ();
การเรียกฟังก์ชันนี้จะให้ผลลัพธ์เป็นข้อความ "my function ได้รับการเรียก " บน browser
การตั้งชื่อฟังก์ชัน
สิ่งสำคัญมากในการพิจารณาเมื่อตั้งชื่อฟังก์ชันคือชื่อต้องสั้นแต่มีความหมาย ถ้าฟังก์ชันสร้างส่วนตัวของเพจควรตั้งชื่อเป็น pageheader () หรือ page_header ()
ข้อจำกัดในการตั้งชื่อคือ
ฟังก์ชันไม่สามารถมีชื่อเดียวกับฟังก์ชันที่มีอยู่
ชื่อฟังก์ชันสามารถมีได้เพียงตัวอักษรตัวเลข และ underscore
ชื่อฟังก์ชันไม่สามารถเริ่มต้นด้วยตัวเลข
หลายภาษายอมให้ใช้ชื่อฟังก์ชันได้อีก ส่วนการทำงานนี้เรียกว่า function overload อย่างไรก็ตาม PHP ไม่สนับสนุน function overload ดังนั้นฟังก์ชันไม่สามารถมีชื่อเดียวกันกับฟังก์ชันภายใน หรือฟังก์ชันกำหนดเองที่มีอยู่
หมายเหตุ ถึงแม้ว่าทุกสคริปต์ PHP รู้จักฟังก์ชันภายในทั้งหมด ฟังก์ชันกำหนดเองอยู่เฉพาะในสคริปต์ที่ประกาศสิ่งนี้หมายความว่า ชื่อฟังก์ชันสามารถใช้ในคนละไฟล์แต่อาจจะไปสู่ความสับสน และควรหลีกเลียง
ชื่อฟังก์ชันต่อไปนี้ถูกต้อง
name ()
name2 ()
name_three ()
_namefour ()
ชื่อไม่ถูกต้อง
5name ()
Name-six ()
fopen ()
การเรียกฟังก์ชันไม่มีผลจากชนิดตัวพิมพ์ ดังนั้นการเรียก function_name (), Function_Name() หรือ FUNCTION_NAME() สามารถทำได้และมีผลลัพธ์เหมือนกัน แต่แบบแผนการกำหนดชื่อฟังก์ชันใน PHP ให้ใช้ตัวพิมพ์เล็ก
ชื่อฟังก์ชันแตกต่างจากชื่อตัวแปร โดยชื่อตัวแปรเป็นชนิดตัวพิมพ์มีผล ดังนั้น $Name และ $name เป็น 2 ตัวแปร แต่ Name () และ name () เป็นฟังก์ชันเดียวกัน
การหยุดประมวลผลภายในฟังก์ชัน
คีย์เวิร์ด return หยุดการประมวลผลฟังก์ชัน ฟังก์ชันสิ้นสุดได้เพราะประโยคคำสั่งทั้งหมดได้รับการประมวลผล หรือ ใช้คีย์เวิร์ด return การประมวลผลกลับไปยังประโยคคำสั่งต่อจากการเรียกฟังก์ชัน
<?php
function division($x, $y)
{
if ($y == 0 || !isset($y))
{

echo " ตัวหาร y ต้องไม่เป็นศูนย์หรือไม่มีค่า" ;
return;}
$result = $x / $y;
echo $result;
}
?>
ถ้าประโยคคำสั่ง return ได้รับการประมวลผล บรรทัดคำสั่งต่อไปในฟังก์ชันจะถูกข้ามไป และกลับไปยังผู้เรียกฟังก์ชันนี้ ในฟังก์ชันนี้ ถ้า y เป็น 0 จะหยุดการประมวลผล ถ้า y ไม่เท่ากับ 0 จะคำนวณผลหาร
สมมติป้อนค่าเป็น
x = 4, y = 0
x = 4
x = 4, y = 2
ผลลัพธ์ของคำสั่ง คือ
x = 4, y = 0 ผลลัพธ์ ตัวหาร y ต้องไม่เป็นศูนย์หรือไม่มีค่า
x = 4, y = ผลลัพธ์ ตัวหาร y ต้องไม่เป็นศูนย์หรือไม่มีค่า
x = 4, y = 2 ผลลัพธ์ 2
การเรียกฟังก์ชัน
เมื่อฟังก์ชันได้รับการประกาศหรือสร้างขึ้นแล้ว การเรียกฟังก์ชันสามารถเรียกมาจากที่ใดๆ ภายในสคริปต์ หรือ จากไฟล์ที่มีการรวมด้วยประโยคคำสั่ง include() หรือ require()
ตัวอย่าง ฟังก์ชัน show_message() เก็บอยู่ในไฟล์ fn_ 03 _keeper.php ส่วนผู้เรียกอยู่ในสคริปต์ fn_ 03 _caller.php
<?php
include("fn_ 03 _keeper.php");
show_message();
?>

วันเสาร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ระบบจัดการฐานข้อมูล

ระบบจัดการฐานข้อมูล (DBMS) ประกอบด้วยซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการจัดการฐานข้อมูล, จัดเตรียมพื้นที่ในการเก็บ, การเข้าถึง, ระบบรักษาความปลอดภัย, สำรองข้อมูล และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ ระบบจัดการฐานข้อมูลสามารถแบ่งหมวดหมู่ได้ตามแบบจำลองฐานข้อมูลที่สนับสนุน อาทิเช่น เชิงสัมพันธ์ หรือ XML เป็นต้น แบ่งตามประเภทของคอมพิวเตอร์ที่สนับสนุน อาทิเช่น server cluster หรือ โทรศัพท์พกพา เป็นต้น แบ่งตามประภทของภาษาสอบถามที่ใช้ในการเข้าถึงฐานข้อมูล อาทิเช่น ภาษาสอบถามเชิงโครงสร้าง หรือ XQuery แบ่งตามประสิทธิภาพในการ trade-offs อาทิเช่น ขนาดที่ใหญ่ที่สุด หรือ ความเร็วสูงสุด หรือ อื่นๆ เป็นต้น ในบาง DBMS จะครอบคลุมมากกว่าหนึ่งหมวดหมู่ เช่น สนับสนุนภาษาสอบถามได้หลายๆ ภาษา ยกตัวอย่างเช่น ใน DBMS ที่นิยมใช้การอย่างแพร่หลาย MySQL, PostgreSQL, Microsoft Access, SQL Server, FileMaker,Oracle,Sybase, dBASE, Clipper,FoxPro อื่นๆ ในทุกๆ ซอฟต์แวร์ฐานข้อมูลจะมี Open Database Connectivity (ODBC) driver มาให้ด้วย เพื่ออนุญาตให้ฐานข้อมูลสามารถทำงานร่วมกับฐานข้อมูลแบบอื่นๆ ได้

ฐานข้อมูล

ฐานข้อมูล ประกอบด้วยกลุ่มการจัดการข้อมูลสำหรับผู้ใช้หนึ่งคนหรือหลายๆ คน โดยทั่วไปมักอยู่ในรูปแบบดิจิทัล วิธีการแบ่งชนิดของฐานข้อมูลได้รูปแบบหนึ่งคือแบ่งตามชนิดของเนื้อหา เช่น บรรณานุกรม, เอกสารตัวอักษร, สถิติ โดยฐานข้อมูลดิจิทัลจะถูกจัดการโดยใช้ระบบจัดการฐานข้อมูลซึ่งเก็บเนื้อหาฐานข้อมูล โดยอนุญาตให้สร้าง, ดูแลรักษา, ค้นหา และการเข้าถึงในรูปแบบอื่นๆ


ประวัติ

ฐานข้อมูลในลักษณะที่คล้ายกับฐานข้อมูลสมัยใหม่ ถูกพัฒนาเป็นครั้งแรกในทศวรรษ 1960 ซึ่งผู้บุกเบิกในสาขานี้คือ ชาลส์ บากแมน แบบจำลองข้อมูลสำคัญสองแบบเกิดขึ้นในช่วงเวลานี้ ซึ่งเริ่มต้นด้วย แบบจำลองข่ายงาน (พัฒนาโดย CODASYL) และตามด้วยแบบจำลองเชิงลำดับชั้น (นำไปปฏิบัติใน IMS) แบบจำลองทั้งสองแบบนี้ ในภายหลังถูกแทนที่ด้วย แบบจำลองเชิงสัมพันธ์ ซึ่งอยู่ร่วมสมัยกับแบบจำลองอีกสองแบบ แบบจำลองแบบแรกเรียกกันว่า แบบจำลองแบนราบ ซึ่งออกแบบสำหรับงานที่มีขนาดเล็กมาก ๆ แบบจำลองร่วมสมัยกับแบบจำลองเชิงสัมพันธ์อีกแบบ คือ ฐานข้อมูลเชิงวัตถุ หรือ โอโอดีบี3 (OODB)

ในขณะที่แบบจำลองเชิงสัมพันธ์ มีพื้นฐานมาจากทฤษฎีเซต ได้มีการเสนอแบบจำลองดัดแปลงซึ่งใช้ทฤษฎีเซตคลุมเครือ (ซึ่งมีพื้นฐานมาจากตรรกะคลุมเครือ) ขึ้นเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง

ปัจจุบันมีการกล่าวถึงมาตรฐานโครงสร้างฐานข้อมูล เพื่อให้สามารถเชื่อมโยงฐานข้อมูลต่างระบบ ให้สืบค้นรวมกันเสมือนเป็นฐานข้อมูลเดียวกัน และการสืบค้นต้องแสดงผลตรงตามคำถาม มาตรฐานดังกล่าวได้แก่ XML RDF Dublin Core Metadata เป็นต้น และสิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งที่จะช่วยให้การแลกเปลี่ยนข้อมูลรหว่างต่างหน่วยงานได้ดี คือการใช้ Taxonomy และ อรรถาภิธาน ซึ่งเป็นเครื่องมือสำหรับจัดการความรู้ในลักษณะศัพท์ควบคุม เพื่อจำกัดความหมายของคำที่ใช้ได้หลายคำในความหมายเดียวกัน